|
ตัวอย่าง :
คุณพึงมีเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท โดยในปีนี้คุณพึงมีจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นเงิน
5% ของรายได้ หรือ 30,000 บาท ถ้าคุณพึงมีต้องการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
อยากทราบว่า เงินได้จำนวนเท่าไรที่คุณพึงมีสามารถลงทุนในกองทุน
เพื่อให้ได้รับสิทธ์ประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
วิธีคำนวณ
รายได้ทั้งปี 600,000 บาท
จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 30,000 บาท
เงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษี
= เงินได้สูงสุดที่ได้รับยกเว้นภาษี - เงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
= 300,000 - 30,000
= 270,000 บาท
แต่ 15% ของเงินได้ของคุณพึงมี = 600,000 x 15% = 90,000
บาท
ดังนั้น คุณพึงมีสามารถลงทุน 15% ของรายได้ หรือ 90,000
บาท ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพราะว่า เงินได้ที่ใช้ลงทุนนี้อยู่ในภายใต้จำนวนเงินได้สูงสุดที่ได้รับยกเว้นภาษี
ตัวอย่าง :
คุณพอเก็บเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้ในส่วนของค่าจ้างแรงงาน
1,500,000 บาท และ รายได้จากการประกอบอาชีพอิสระ 1,000,000
บาท รวมเงินได้ทั้งปีของคุณพอเก็บเท่ากับ 2,500,000 บาท
คุณพอเก็บเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัท
โดยจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน 5% ของรายได้ทั้งปี เป็นเงิน
75,000 บาท ถ้าคุณพอเก็บต้องการนำเงินได้ ไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
เป็นจำนวน 250,000 บาท คุณพอเก็บจะสามารถรับสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี
จากเงินลงทุนทั้งหมดหรือไม่
วิธีคำนวณ
รายได้ทั้งปี 2,500,000 บาท
Provident fund 75,000 บาท
เงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษี
= เงินได้สูงสุดที่ได้รับยกเว้นภาษี - เงินจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
= 300,000 - 75,000
= 225,000 บาท
แต่ 15% ของเงินได้ของคุณพึงมี = 2,500,000 x 15% = 375,000
บาท
คุณพอเก็บต้องการลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ด้วยเงินได้จำนวน
250,000 บาท แต่เนื่องจากเงินได้สุทธิสูงสุด ที่จะได้รับการยกเว้นภาษี
เท่ากับ 225,000 บาท
ดังนั้น คุณพอเก็บจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี จากเงินได้ทั้งหมดที่นำไปลงทุน
จำนวนเงินลงทุนที่ได้รับการยกเว้นภาษีคือ 225,000 บาท
|