• ต้องการซื้อหุ้นเพิ่ม แต่ซื้อไม่ได้ วงเงินไม่พอ
  • วงเงินซื้อหุ้นของท่านถูกจำกัด จากผู้ที่ไม่รู้จักตัวท่านดีพอ ที่จะเพิ่มวงเงินให้กับท่าน
  • ต้องรับจ่ายเงินค่าซื้อขายหุ้น แล้วยังต้องไปธนาคารอีก
  • ซื้อขายหุ้น โดยไม่มีการเลือกสรรหุ้นที่มีคุณภาพ บางครั้งเป็นหุ้นที่ขาดสภาพคล่อง ซื้อง่าย ขายยาก
  • เป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้กับนักลงทุน ที่ต้องการลงทุนในหลักทรัพย์มากกว่าเงินลงทุนที่ตนมีอยู่
  • มีความคล่องตัวในการกู้ยืมสูงกว่าเงินกู้ยืมทั่วไป
  • ลดภาระการติดต่อกับธนาคาร กรณีต้องชำระราคา และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการออกเช็คสั่งจ่าย อีกทั้งเป็นการป้องกันความเสี่ยง ในเรื่องของการผิดนัดชำระค่าซื้อหลักทรัพย์
  • ระบบมาร์จิ้นเดิมจะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ตั้งแต่เงินบาทแรกที่ซื้อหุ้น โดยไม่ได้นำยอดเงินซื้อหุ้นนั้นไปหักออกจากเงินวางเป็นประกันก่อน แต่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในระบบเครดิตบาลานซ์ จะเกิดเมื่อใช้เงินวางเป็นประกันหมดก่อน และเมื่อเริ่มใช้เงินกู้ยืม จึงจะเริ่มคิดดอกเบี้ย
  • ระบบเครดิตบาลานซ์ เป็นการสะท้อนภาพรวมของ Port การลงทุนด้วยราคาตลาด นักลงทุนจะทราบสถานะของตนทั้งมูลค่าทรัพย์สินที่มีอยู่อันประกอบไปด้วย เงินสดและหลักทรัพย์ที่ซื้อหรือวางเป็นประกัน และทราบมูลค่าหนี้สินของตน ซึ่งก็คือเงินที่กู้ยืมไปซื้อหลักทรัพย์นั่นเอง ตลอดจนทราบส่วนทุนของตนที่เกิดจากทรัพย์สิน ลบ หนี้สิน ซึ่งจะ ทำให้นักลงทุนสามารถประเมินการลงทุนของตนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกว่าระบบมาร์จิ้นเดิมที่มองกำไรขาด ทุนของหุ้นเป็นรายตัว ดังที่จะเห็นได้ว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ด้วยระบบเครดิตบาลานซ์ จะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้อย่างน่าพึงพอใจ แต่อย่างไรก็ตามในการตัดสินใจ นักลงทุนก็ควรคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนมาประกอบการพิจารณาด้วย